พืชสกุลลิ้นมังกรเป็นพืชอวบน้ำประเภทใบเลี้ยงเดี่ยว มีอายุยืนข้ามปี มีลำต้นเป็นเหง้าหรือไหลอยู่ใต้ดิน เหง้าจะมีปล้องสั้นและอวบอ้วน ไหลจะมีข้อห่างและเรียวยาวมีใบเป็นเกล็ดสั้นๆ หุ้ม และใบเกล็ดที่อยู่ส่วนปลายจะยาวมากขึ้นจนกลายมาเป็นใบไม้ ทั้งเหง้าและไหลจะเจริญเติบโตชอนไชไปใต้ผิวดิน เพื่อจะส่งหน่อใหม่ให้เติบโตแผ่ขยายบริเวณกว้างออกไปจากต้นแม่ รากจะแผ่ออกหาน้ำและอาหารโดยไม่แก่งแย่งกันเอง
พืชสกุลลิ้นมังกรมถิ่นกำเนิดและกระจายพันธุ์อยู่ตามประเทศเขตร้อนและแห้งแล้งหรือเขตทะเลทราย โดยเฉพาะทวีปแอฟริกา เช่น เคนย่า, เอธิโอเปีย, โมซัมบิค, ยูกันดา, มาดากัสการ์, แทนซาเนีย เป็นต้น แม้ว่าลิ้นมังกรจะมีถิ่นกำเนิดอยู่ในพื้นที่แห้งแล้ง แต่เมื่อนำมาปลูกเลี้ยงในสภาพแวดล้อมที่ต่างไปจากเดิม และมีการดูแลอย่างดี ปรากฏว่ามันสามารถเจริญเติบโตได้ดีและมีความสมบูรณ์สวยงามมากกว่าในถิ่นกำเนิดเดิม
ในประเทศไทยไม่มีรายงานว่าผู้ใดนำเข้ามา แต่คนไทยรู้จักและคุ้นเคยกับพืชสกุลลิ้นมังกรมานานแล้ว ลิ้นมังกรที่คนไทยรู้จัก คือ
1. พวกใบแบนยาว เรียกว่า ลิ้นมังกร ลิ้นแม่ยาย หอกพระอินทร์ ว่านลิ้นมังกร |
2. พวกใบแบบสั้น เรียกว่า หูเสือ เกล็ดมังกร เล็บมังกร |
3. พวกใบกลมยาว เรียกว่า งาช้าง ว่านงาช้าง |
|